หน้าเว็บ

สิทธิประกันสังคมที่ควรรู้

ทักทาย
สวัสดีครับในสังคมปัจจุบันสำหรับบุคคลที่ทำงานแล้วมีสิทธิเกี่ยวกับประโยชน์เกี่ยวกับประกันสังคมแต่น่าเสียดายที่ไม่รู้ว่าเงินที่หักเข้าสู่ระบบประกันสังคมหักมาทำไมบางคนบ่นว่าเสียเงินทุกเดือนแต่ไม่ได้อะไรเลย บางคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิอะไรบ้าง ถ้าอย่างนั้นมาตามดูกันดีกว่านะขอรับว่ายังมีอะไรดีๆอีกเยอะที่พวกเราควรจะทราบตามมาครับ

การประกันสังคมคืออะไร

การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่มรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีเงินทดแทนการขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อใดจึงจะได้รับสิทธิ?????

กรณีเจ็บป่วยและกรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์

กรณีคลอดบุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด

กรณีตาย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันคลอด

กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีชราภาย เมื่อมีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเมื่อเสียชีวิต

กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง???

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน จะได้รับบริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และการใส่ฟันเทียมชนิดถอนได้ฐานอคริลิก ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์บำบัดโรค การบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวรและการปลูกถ่ายไต การปลูกไขกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

กรณีคลอดบุตร จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

กรณีทุพพลภาพ จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์บำบัดโรค ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย

กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย

กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 350 ต่อบุตร 1 คน

กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน

กรณีว่างงาน หากถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนครั้งละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง หากลาออกจากงานจะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง

หมายเหตุ ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ 4 กรณีแรกสำนักงานฯ จะให้ความคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

กรณีเจ็บป่วยจะได้อะไร

ได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นและกรณีที่ต้องหยุดพักตามคำสั่งแพทย์หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้วจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 90 วันต่อครั้งและไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

กรณีคลอดบุตร จะได้สิทธิอย่างไร???

ผู้ประกันตนจะได้รับค่าคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง โดยมีสิทธิดังนี้
ผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสำเนาสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และยังจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตนชายที่มีภริยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้แล้วนำสูติบัตรของบุตร สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) หรือหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (เฉพาะกรณีผู้ประกันตนใช้สิทธิแล้วไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภริยา) มาเบิกที่สำนักงานประกันสังคมจะได้รับเฉพาะเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท

หมายเหตุ ประกาศฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554

กรณีทุพพลภาพ จะได้รับเงินเท่าไร

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ทางร่างกายจิตใจและอาชีพ ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์อัตราฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป หากเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย เช่นเดียวกับกรณีตาย

กรณีตายจะได้รับเงินเท่าไร

ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายดังนี้

* จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหนึ่งเดือนครึ่ง

* จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยห้าเดือน

กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินเท่าไร???

ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตรหนื่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน

ออกจากงานต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อต้องทำอย่างไร?????

คุณสมบัติของผู้สมัคร
เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือน
ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
การยื่นใบสมัคร
ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือนนับแต่ออกจากงาน

สถานที่ยื่นใบสมัคร
* กรุงเทพฯ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่
* ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

หลักฐานการสมัคร
1. แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 39 (สปส.1-20)
2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เงินสมทบที่ต้องนำส่ง
*เดือนละ 432 บาท
*เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800 บาท) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรและชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

วิธีการจ่ายเงินสมทบ
*จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ สปส.1-11
*หักจากบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารกสิกรไทย หรือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
*จ่ายด้วยเงินสดที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

กรณีว่างงานจะได้อะไร

ถูกเลิกจ้าง *ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน180 วัน

ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 30 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 90 วัน
หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการมีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานทั้ง 2 กรณี ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน รวมกันไม่เกิน 180 วัน

หมายเหตุ ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญา เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน (ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

กรณีชราภาพจะได้รับเงินเท่าไร???

เงินบำนาญชราภาพ
กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ ตามข้อ 1 ขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วย 20%( +จำนวน%ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)

เงินบำเหน็จชราภาพ
กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขื้นไป จะได้รับบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
กรณีผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย